การเปิด / file Browser การสร้างพื้นที่ทำงาน
การเปิดไฟลล์ใหม่ขึ้นมาทำงาน
1. Click ที่เมนู File
2. เลือกคำสั่ง New หรือกด Ctrl + N
3. จะปรากฏหน้าต่าง New
Name |
ตั้งชื่อให้กับงาน |
Preset |
ช่องสำหรับเลือกพื้นที่ ที่โปรแกรมกำหนดมาให้ |
Width |
ความกว้าง ซึ่งมีหน่วยต่าง ๆ เช่น Pixel , เซนติเมตร , นิ้ว |
Height |
ความสูง ซึ่งมีหน่วยต่าง ๆ เช่น Pixel , เซนติเมตร , นิ้ว |
Resolution |
ค่าความละเอียด ( ซึ่งความละเอียดบนหน้าจอ = 72 ) |
mode |
เลือกชนิดของระบบสี |
Tip & Trick : กด Ctrl + N จากแป้นคีย์บอร์ด เพื่อสร้างพื้นที่ทำงานใหม่ได้
การย่อขยายขนาดของภาพโดยคำสั่ง Image size
1. เปิดไฟล์ภาพที่ต้องการขึ้นมา ( File > Open , Ctrl + O ) คลิกเลือกที่เมนู Image > เลือก Image size

Pixel Dimension |
ช่องแสดงความกว้างและความสูงปัจจุบัน |
– Width |
ความกว้าง |
– Height |
ความสูง |
Scale Styles |
|
Constrain Proportions |
การรักษาความสมดุลของภาพ |
Resample Image |
|
การหมุนพื้นที่ทำงานโดย Rotate Canvas
คำสั่งนี้เป็นการหมุนภาพทั้งภาพ โดยแบ่งการหมุนออกเป็น 2 ทิศทาง คือ ทิศทางตามเข็มนาฬิกา และทิศทางทวนเข็มนาฬิกา
1. คลิกที่เมนู Image > Rotate Canvas จะปรากฏเมนูย่อย 6 คำสั่ง

หมุนภาพ 180 องศา
|
หมุนภาพ 90 องศา ทิศทางตามเข็มนาฬิกา
|
หมุนภาพ 90 องศา ทิศทางทวนเข็มนาฬิกา
|
หมุนภาพแบบกำหนดองศาและทิศทางการหมุน
|
กลับด้านภาพ > กลับจากซ้ายไปขวา
|
กลับด้านภาพ > กลับด้านบนเป็นด้านล่าง
|
2. เลือกคำสั่งตามต้องการ จะได้ภาพตามต้องการ
การตัดภาพด้วยเครื่องมือ Crop
การใช้งาน
Crop tool ( c )
1. เปิดไฟล์ภาพที่ต้องการขึ้นมา ( File > Open , Ctrl + O ) ใช้เครื่องมือ Crop tool ( c ) คลิกสร้างกรอบให้คลุมวัตถุที่ต้องการ
– บริเวณนอกกรอบจะมืดลง แสดงว่าบริเวณนี้จะหายไปเมื่อ Crop
– เราสามารถจัดการกับกรอบได้ เช่น ปรับเปลี่ยนขนาด โดยคลิกที่จุดตรงมุมใดมุมหนึ่งแล้วลากเมาส์ให้ขนาดกรอบเปลี่ยนไป
เราสามารถปรับค่าของ Crop tool ได้จากแถบ Option bar

Shield
|
ตัวเลือก Shield สำหรับแสดงสีกั้นส่วนที่จะถูกตัดออก
|
Color
|
ช่องสำหรับคลิกกำหนดสีของส่วนกั้น
|
Opacity
|
กำหนดค่าความโปร่งใสของ Shield
|
2. เมื่อพอใจแล้ว กดปุ่ม Enter หรือดับเบิ้ลคลิกในกรอบ หรือกดปุ่ม
Commit ใน Option bar
รูปจะถูก Crop
การบันทึกข้อมูล ปรับค่าต่างๆ
การบันทึกข้อมูล ( Save )
ในระหว่างการทำงาน หรือหลังจากการทำงานเสร็จสิ้น การบันทึกผลงานหรือการ Save File เป็นสิ่งที่ควรทำให้เป็นนิสัยในระหว่างการทำงาน เพื่อให้สามารถนำงานชิ้นนั้นกลับมาทำงานต่อได้อีก รวมทั้งเป็นการป้องกันความผิดพลาดบางอย่าง ที่อาจทำให้งานที่ทำอยุ่หายไปเฉยๆ ได้ ( เช่น ไฟฟ้าดับ หรือระบบ OS ของเครื่องล่ม ) โดยปกติเมื่อเราสั่ง Save งานโปรแกรมจะทำการบันทึกงานที่เราทำอยู่เป็น File Format .PSD ( Photoshop Document ) ซึ่งเป็นรูปแบบไฟล์ที่ใช้งานใน Photoshop สามารถที่จะจัดเก็บข้อมูลของงานที่ทำเอาไว้ทุกอย่างโดยไม่มีส่วนใดขาดหายไป สำหรับขั้นตอนในการบันทึกข้อมูลจะมีขึ้นตอนดังนี้
1. คลิกที่ Menu File > Save หรือ กด Ctrl + S
2. กำหนดชื่อ และเลือกที่อยู่ปลายทางในการบันทึกข้อมูล เหมือนกับการบันทึกข้อมูลในโปรแกรมอื่นๆ โดยทั่วไป แล้วคลิกที่ Save เพื่อทำการบันทึก
Save Option
ในขั้นตอนการบันทึกข้อมูลนั้น ในหน้าต่าง Save ( หรือ Save As ) ในส่วนด้านล่างจะเป็นส่วนของ Save Option ซึ่งจะเป็นส่วนตัวเลือกสำหรับปรับแต่งค่าการบันทึกข้อมูล ซึ่งจะประกอบไปด้วย
– Save As Copy เป็นการบันทึกงานแบบสำเนาใหม่ออกมาอีกชุดหนึ่งจากงานที่กำลังทำอยู่ โดยงานที่กำลังทำอยู่จะไม่ได้โดนบันทึกไปด้วยจนกว่าจะทำการบันทึก ( Save ) ตัวมันเอง
– Alpha Channel เป็นการบันทึกงานแบบกำหนดให้มีการบันทึกค่า Alpha Channel ( พื้นที่โปร่งใส ) ลงไปในภาพด้วย หากไม่เลือกตัวเลือกนี้พื้นที่ส่วนค่า Alpha Channel ของภาพจะถูกลบทิ้งไปอย่างไรก็ตาม ค่า Alpha Channel นั้นจะมีอยู่ในการบันทึกข้อมูลบางประเภท และบางลักษณะการทำงานเท่านั้น
– Layer เป็นการบันทึกค่าแบบกำหนดให้มีการแยก Layer ของภาพออกจากกัน หากไม่เลือกตัวเลือกนี้ Layer ทั้งหมดของภาพจะถูกรวมกันเป็นิ้นเดียว
– Annotion เป็นการกำหนดให้มีการบันทึก Note หรือข้อความพิเศษที่เรากำหนดขึ้นลงไปในภาพด้วย
– Spot Color เป็นการกำหนดให้มีการบันทึก Spot Color ลงไปในภาพด้วย
– Use Proof Setup เป็นการกำหนดให้มีการบันทึกค่าการปรับแต่งของหน้าจอลงไปในงานด้วย
– ICC Profile เป็นการกำหนดให้มีการบันทึกภาพขนาดเล้กสำหรับแสดงแทนภาพของจริง
– Use Low Case Extension เป็นการกำหนดให้ตั้งชื่อนามสกุลของข้อมูลเป็นตัวอักษรตัวเล็ก
http://www.edu-mine.com/photoshop/lesson3_encoding.html